ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สุริยุปราคา






สุริยุปราคา
สุริยุปราคาเต็มดวง
พ.ศ. 2542
สุริยุปราคา หรือ สุริยคราส เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เกิดขึ้นเมื่อ
ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก โคจรมาเรียงอยู่ในแนวเดียวกันโดยมีดวงจันทร์อยู่ตรงกลาง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ เมื่อสังเกตจากพื้นโลกจะเห็นดวงจันทร์เคลื่อนเข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ โดยอาจบังมิดหมดทั้งดวงหรือบางส่วนก็ได้ ในแต่ละปีสามารถเกิดสุริยุปราคาบนโลกได้อย่างน้อย 2 ครั้ง สูงสุดไม่เกิน 5 ครั้ง ในจำนวนนี้อาจไม่มีสุริยุปราคาเต็มดวงเลยแม้แต่ครั้งเดียว หรืออย่างมากไม่เกิน 2 ครั้ง[1] โอกาสที่จะได้เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงสำหรับสถานที่ใดสถานที่หนึ่งบนพื้นโลกนั้นค่อนข้างยาก เนื่องจากสุริยุปราคาเต็มดวงแต่ละครั้งจะเกิดในบริเวณแคบ ๆ ภายในแถบที่เงามืดของดวงจันทร์พาดผ่านเท่านั้น
สุริยุปราคาเต็มดวงเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่สวยงาม น่าตื่นเต้น และสร้างความประทับใจแก่คนที่ได้ชม ผู้คนจำนวนมากต่างพากันเดินทางไปยังดินแดนอันห่างไกลเพื่อคอยเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์นี้ สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2542 ที่เห็นได้ในทวีปยุโรป ทำให้สาธารณชนหันมาสนใจสุริยุปราคาเพิ่มขึ้นมาก สังเกตได้จากจำนวนประชาชนที่เดินทางไปเฝ้าสังเกตสุริยุปราคาวงแหวนใน พ.ศ. 2548 และสุริยุปราคาเต็มดวงใน พ.ศ. 2549 สุริยุปราคาครั้งที่ผ่านมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ คือสุริยุปราคาวงแหวนเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552 และสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552




สุริยุปราคามี 4 ชนิด ได้แก่
-สุริยุปราคาเต็มดวง (total eclipse): ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง
-สุริยุปราคาบางส่วน (partial eclipse): มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง
-สุริยุปราคาวงแหวน (annular eclipse): ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์
-สุริยุปราคาผสม (hybrid eclipse): ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของแนวคราสเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง ที่เหลือเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวงเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า
สุริยุปราคาจัดเป็น
อุปราคาประเภทหนึ่ง เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์มีดิถีตรงกับจันทร์ดับ
การที่ขนาดของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์เกือบจะเท่ากันถือเป็นเหตุบังเอิญ ดวงอาทิตย์มีระยะห่างเฉลี่ยจากโลกไกลกว่าดวงจันทร์ประมาณ 390 เท่า และเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ก็ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่า ตัวเลขทั้งสองนี้ซึ่งไม่ต่างกันมาก ทำให้ดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกันเมื่อมองจากโลก คือปรากฏด้วยขนาดเชิงมุมราว 0.5 องศา
วงโคจรของดวงจันทร์รอบโลกเป็น
วงรีเช่นเดียวกันกับวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์จึงไม่คงที่[3][4] อัตราส่วนระหว่างขนาดปรากฏของดวงจันทร์ต่อดวงอาทิตย์ขณะเกิดคราสเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าสุริยุปราคาอาจเป็นชนิดใด ถ้าคราสเกิดขึ้นระหว่างที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดใกล้โลกที่สุด (perigee) อาจทำให้เป็นสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏใหญ่มากพอที่จะบดบังผิวสว่างของดวงอาทิตย์ที่เรียกว่าโฟโตสเฟียร์ได้ทั้งหมด ตัวเลขอัตราส่วนนี้จึงมากกว่า 1 แต่ในทางกลับกัน หากเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์อยู่บริเวณจุดไกลโลกที่สุด (apogee) คราสครั้งนั้นอาจเป็นสุริยุปราคาวงแหวน เพราะดวงจันทร์จะมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ อัตราส่วนนี้จึงมีค่าน้อยกว่า 1 สุริยุปราคาวงแหวนเกิดได้บ่อยกว่าสุริยุปราคาเต็มดวง เพราะโดยเฉลี่ยแล้วดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากเกินกว่าจะบดบังดวงอาทิตย์ได้ทั้งหมด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น